มาทำความเข้าใจกับอัตราความสำเร็จจากการรักษาภาวะมีบุตรยากกัน
อัตราความสำเร็จจากการรักษาผู้มีบุตรยากมีวิธีการวัดผลได้หลายวิธี แต่วิธีการวัดที่มีความใกล้เคียงกับความรู้สึกของผู้ให้บริการคืออัตราการคลอดบุตร นั่นหมายถึงการวัดถึงการได้บุตรที่แท้จริง วิธีการวัดเราสามารถเปรียบเทียบกันแบบง่ายๆคือถ้ามีคู่สมรสเดินเข้ามาเพื่อใช้บริการ จะมีคู่สมรสกี่คู่ที่จะได้ลูกกลับบ้านสมใจเช่นคู่สมรสใช้บริการ 10 คู่ สามารถคลอดบุตรได้ 5 คน นั่นหมายถึง อัตราการคลอดบุตรและได้บุตรกลับบ้านต่อผู้มาใช้บริการอยู่ที่ประมาณ 50% อย่างไรก็ตาม อัตราความสำเร็จนั้นอยู่ที่วิธีการรักษาด้วย เช่นอัตราการตั้งครรภ์จากวิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกจะต่ำกว่าอัตราการตั้งครรภ์จากวิธีเด็กหลอดแก้ว 3-4 เท่า การจะเปรียบเทียบโอกาสในความสำเร็จของการรักษานั้น ควรจะเปรียบเทียบด้วยวิธีการรักษาเดียวกัน และเปรียบเทียบด้วยวิธีการเดียวกัน สำหรับการวัดอัตราการคลอดต่อการเข้ารับบริการรักษานั้นถือเป็นวิธีการวัดผลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด
สำหรับอัตราการฝังตัวของตัวอ่อนนั้น อาจจะยังไม่ใช่วิธีการวัดผลความสำเร็จที่ดีนัก เนื่องจากส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์จะสิ้นสุดลงด้วยการแท้งธรรมชาติ ซึ่งอัตราการเกิดแท้งธรรมชาตินั้นพบได้ประมาณ 15% ของการตั้งครรภ์ หมายความว่าหญิงตั้งครรภ์ 100 คนมีโอกาสแท้งธรรมชาติได้เอง 15% อายุมากจะมีโอกาสแท้งสูงขึ้น ทำให้ส่วนหนึ่งของการตั้งครรภ์จากการรักษาไม่สามารถคลอดครบกำหนดได้
สำหรับอัตราการตั้งครรภ์ที่เราทำได้สำเร็จนั้นจะถูกคิดเป็นรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ที่เราเปิดศูนย์รักษา จนณปัจจุบัน เนื่องจากการเก็บข้อมูลเป็นอัตราการคลอด ดังน้ันข้อมูลล่าสุดที่สามารถเก็บได้ครบจึงเป็นปี 2552
สำหรับปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เราสามารถวัดอัตราความสำเร็จอีกวิธีโดยวัดอัตราการตั้งครรภ์ต่อการย้ายตัวอ่อนแต่ละรอบ ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกัน แต่ยังสามารถใช้ตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบผลการรักษากับโรงพยาบาลอื่นๆได้ โดยเทียบด้วยวิธีการเดียวกัน
สำหรับอัตราการตั้งครรภ์ที่เราทำได้สำเร็จนั้นจะถูกคิดเป็นรายปี โดยเริ่มตั้งแต่ที่เราเปิดศูนย์รักษา จนณปัจจุบัน เนื่องจากการเก็บข้อมูลเป็นอัตราการคลอด ดังน้ันข้อมูลล่าสุดที่สามารถเก็บได้ครบจึงเป็นปี 2552
สำหรับปี 2553 จนถึงปัจจุบัน เราสามารถวัดอัตราความสำเร็จอีกวิธีโดยวัดอัตราการตั้งครรภ์ต่อการย้ายตัวอ่อนแต่ละรอบ ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกัน แต่ยังสามารถใช้ตัวเลขเพื่อเปรียบเทียบผลการรักษากับโรงพยาบาลอื่นๆได้ โดยเทียบด้วยวิธีการเดียวกัน
อัตราการตั้งครรภ์แยกตามอายุ จะเห็นได้ว่าอายุน้อยกว่า 34 ปีเป็นช่วงที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์มากที่สุด ส่วนอายุมากกว่า 40 ปีเป็นช่วงที่โอกาสตั้งครรภ์ต่ำที่สุด |
No comments:
Post a Comment