การตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในเบื้องต้นน้ัน ควรมีการเตรียมตัวเพื่อให้ผลของการตรวจนั้นมีความแม่นยำมากที่สุด ดังนี้
1. ฝ่ายชาย ควรงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 3 วัน และไม่ควรเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้ผลการตรวจนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ในกรณีที่ฝ่ายชายงดการหลั่งน้ำเชื้อเป็นเวลานานๆ ตัวอสุจิจะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง ทำให้สัดส่วนตัวอสุจิที่ว่ายน้ำนั้นมีจำนวนลดลง และว่ายช้าลง ซึ่งทำให้แปลผลว่ามีความผิดปกติในส่วนของการเคลื่อนไหวได้
การตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิในเบื้องต้นน้ัน จะทำการตรวจหลายส่วน โดยยึดหลักตามเกณฑ์ขององค์การ อนามัยโลกปี 1999
• ส่วนแรกคือปริมาตรของอสุจิที่หลั่งออกมาควรจะมีมากกว่า 2 มล
• การดูความเข้มข้นของอสุจิ ควรมีความเข้มข้นมากกว่า 20 ล้านตัวต่อปริมาตร 1 มล
• การตรวจการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ ควรมีสัดส่วนของตัวอสุจิที่เคลื่อนไหวได้ เกินกว่า 50% ของตัวอสุจิท้ังหมด และมีตัวที่วิ่งเร็วไปข้างหน้ามากกว่า 25%
• การตรวจดูรูปร่างของตัวอสุจิน้ัน ต้องมีรูปร่างที่ถูกเกณฑ์อย่างน้อย 15%
ปัจจุบันเราสามารถตรวจคุณภาพของน้ำอสุจิด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เพิ่มความถูกต้องและแม่นยำในการแปลผล ซึ่งมีส่วนในการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา
ภาพเครื่องตรวจอสุจิด้วยระบบคอมพิวเตอร์ |
ภาพแสดงการตรวจรูปร่างอสุจิด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทำให้แปลผลได้แม่นยำและถูกต้อง |
• ฝ่ายหญิงนั้นเริ่มต้นจากวันที่สองหรือวันที่สามของรอบเดือน (นับจากวันแรกของการมีประจำเดือน) จะทำการตรวจเลือดเพื่อประเมินเรื่องการทำงานของรังไข่ และความสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองที่มาควบคุมการทำงานของรังไข่ ในรายที่รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด เราสามารถทราบได้จากการตรวจวัดระดับของฮอร์โมนเพศวันที่สองของรอบเดือนนี้ ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อตรวจนับไข่อ่อน เพื่อประเมินอายุของรังไข่ และเพื่อตรวจหาเนื้องอกที่มดลูกและรังไข่ รวมทั้งซีสต์ที่รังไข่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย
• หลัังจากนั้นรอประจำเดือนหมดสนิท มาทำการตรวจท่อนำไข่อุดตัน โดยการฉีดสีเข้าไปในโพรงมดลูก และทำการตรวจ X-ray เพื่อดูว่ามีสารทึบแสงผ่านจากท่อนำไข่เข้าช่องท้องได้หรือไม่ ถ้าสารทึบแสงน้ันสามารถผ่านเข้าช่องท้องได้แสดงว่าไม่มีท่อนำไข่อุดตัน
• หลังจากน้ัน รอจนถึงวันที่ 22 ของรอบเดือนนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมา เพื่อมาตรวจระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ถ้ารอบเดือนนั้นมีไข่ตกได้จะมีระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสูง ถ้าตรวจไม่พบแสดงว่าในรอบประจำเดือนนั้นไม่มีีการตกไข่
การตรวจหาสาเหตุในระดับเชิงลึก
ในบางกรณีการตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในเบื้องต้นไม่สามารถให้คำตอบในเรื่องของสาเหตุที่ทำให้ไม่มีบุตรได้ หรือกรณีที่สงสัยว่าสาเหตุของภาวะมีบุตรยากนั้นเป็นเรื่องของพังผืดในช่องท้อง พังผืดในโพรงมดลูก หรือกรณีที่สิ่งตรวจพบบางอย่างจากการตรวจเบื้องต้นน้ันให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เราจำเป็นต้องทำการตรวจค้นให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษาให้ถูกต้อง การตรวจค้นที่สำคัญได้แก่
การส่องกล้องในช่องท้อง และ/หรือ การส่องกล้องในโพรงมดลูก เป็นการตรวจค้นที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ติดกล้องที่ส่วนปลาย สอดเข้าไปในช่องท้องหรือโพรงมดลูก และตรวจหาความผิดปกติ เช่นพังผืดในช่องท้อง พังผืดในโพรงมดลูก โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดท่ี มดลูกรูปร่างผิดปกติมาแต่กำเนิด เป็นหัตถการที่ต้องทำในห้องผ่าตัดภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกโดยวิสัญญีแพทย์