ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนใหม่ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นมา โดยได้รับการออกแบบโดยพญ สุชาดา มงคลชัยภักดิ์ เพื่อให้บริการที่ครบวงจรและจบขั้นตอนในบริเวณเดียวกัน อีกทั้งการออกแบบน้ันมีจุดประสงค์เพื่อให้มีมาตรฐานที่สูงเทียบเท่ามาตรฐานห้องปฏิบัติการชั้นนำของโลก โดยมีความแตกต่างกับห้องปฏิบัติการของศูนย์อื่นๆในประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ส่งผลดีต่ออัตราการตั้งครรภ์ เนื่องจากพัฒนาการของตัวอ่อนมนุษย์ ต้องการความบริสุทธิ์ของอากาศสูงมาก มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันว่าความบริสุทธิ์ของอากาศในห้องเลี้ยงตัวอ่อนมีผลดีต่อการเจริญพัฒนาของตัวอ่อน และส่งผลดีต่อการฝังตัวที่ปกติด้วย จะเห็นได้ว่าห้องเลี้ยงตัวอ่อนที่ไม่ได้มาตรฐานหรือออกแบบอย่างไม่ถูกต้อง หรือไม่ใช่ระบบ clean room ที่แท้จริง หรือเพียงกั้นเป็นห้องๆเพื่อวางเครื่องมือผสมตัวอ่อนและย้ายตัวอ่อนน้ัน เนื่องจากเป็นพื้นที่เช่า ไม่สามารถทำการสร้างระบบห้อง clean room มาตรฐานได้ จะมีอัตราการตั้งครรภ์ที่ลุ่มๆดอนๆ หมายความว่าบางช่วงมีอัตราการตั้งครรภ์ที่ใช้ได้ บางช่วงไม่พบว่ามีคนตั้งครรภ์เลย เนื่องจากมีปัจจัยรบกวนจากอากาศที่ปนเปื้อน ทำให้ตัวอ่อนมีพัฒนาการที่ผิดปกติโดยไม่ส่งผลให้ทราบแต่ต้น หรือคุณภาพตัวอ่อนอาจจะยังดูดี แต่มาทราบผลเมื่อมีการย้ายตัวอ่อนไปแล้วไม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผู้มารับบริการเป็นอย่างมาก
ห้องเลี้ยงตัวอ่อนและผสมตัวอ่อนระบบใหม่ที่ทางพญ สุชาดา ได้ออกแบบไว้น้ัน ได้นำแนวความคิดและมาตรฐานที่ทางประเทศสหรัฐอเมริกาได้วางเอาไว้ โดยพญ สุชาดาได้รับการศึกษามาจาก Jones Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสถาบันที่ทำเด็กหลอดแก้วสำเร็จเป็นรายแรกของอเมริกาโดย Howard and Georgianna Jones (
http://www.jonesinstitute.org) หลักการเพื่อลดการปนเปื้อนของอากาศ โดยทำให้อากาศภายในห้องน้ันมีความบริสุทธิ์สูงสุด ร่วมกับการออกแบบห้องเลี้ยงตัวอ่อนและห้องเก็บไข่ที่อยู่ในบริเวณต่อเนื่องกับส่วนของผู้ป่วยนอกหรือ OPD ทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวก โดยได้รับการบริการต่อเนื่องจนครบวงจรในบริเวณเดียวกัน แม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีห้องแลบที่เลี้ยงตัวอ่อนจำนวนหลายหมื่นแห่ง ยังมีมาตรฐานที่แตกต่างกันมาก บางสถานที่เปิดห้องแลบที่คลีนิก บางสถานที่เปิดเป็นสถาบันและมีการเรียนการสอน บางสถาบันเปิดในโรงพยาบาลหรือเปิดเป็นห้อง clean room โดยใช้ระบบ Ulpa filtration ที่ได้มาตรฐานเช่นเดียวกันที่เรามี ดังน้ันมาตรฐานจึงแตกต่างกันมาก
|
พญ สุชาดา ถ่ายรูปกับ Howard Jones ที่ Jone Institutes, Eastern Virginia Medical School |
|
พญ สุชาดา ถ่ายภาพร่วมกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน และ Program Director, Professor Helena Russell,
Dr. Jakob F Mayer Jr และ Mrs. Nancy W. Gracia |
โดยทั่วไปห้องผ่าตัดหรือห้องแลปทั่วไป เราใช้ระบบการกรองอากาศด้วย Hepa filter ซึ่งเป็นตัวดักฝุ่นที่จะเข้าภายในห้อง โดย Hepa น้ันมีความสามารถในการกรองฝุ่นขนาดที่ใหญ่กว่า 0.3 ไมครอน ได้มากกว่า 99.95% ( 1 ไมครอน มีขนาดเท่ากับ 1ใน 10000 ของ 1 ซม ) นั่นแปลว่าขนาดของฝุ่นที่เล็กกว่า 0.3 ไมครอนยังเล็ดลอดผ่านไปได้ แต่สำหรับพญาไทศรีราชา เราออกแบบระบบแอร์และการกรองฝุ่นใหม่ ที่ใช้ระบบการกรองแบบ Ulpa filter โดยนิยามของ Ulpa filter น้ันมีความหมายว่ามีความสามารถในการดักจับฝุ่นขนาดเล็ก แบคทีเรีย เชื้อรา ซึ่งมีขนาดที่ใหญ่กว่า 0.12 ไมครอนได้มากกว่า 99.999 % ซึ่งแบคทีเรียส่วนใหญ่จะมีขนาดที่ใหญ่กว่านี้จะไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปได้ ทำให้อากาศในห้องน้ันมีความบริสุทธิ์สูงสุด
ห้องแลปที่ได้มาตรฐานจะนำมาซึ่งผลการตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สำเร็จน้ันเกิดจากตัวอ่อนที่ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุน้ันมาจากไข่เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือส่วนของอสุจิ สาเหตุที่พบน้อยกว่าคือเรื่องของความผิดปกติของตัวมดลูกที่ทำให้ตัวอ่อนฝังตัวไม่ได้ และสาเหตุที่สำคัญอีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะถูกมองข้ามไปคือคุณภาพของห้องเลี้ยงตัวอ่อน รวมทั้งประสบการณ์และความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของตัวอ่อน ทำให้ตัวอ่อนน้ันมีพัฒนาการที่ผิดปกติทั้งๆที่แหล่งต้นกำเนิดคือไข่และอสุจิอาจจะปกติก็ได้ ดังน้ันการพัฒนาห้องเลี้ยงตัวอ่อนให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่มองข้ามไม่ได้ เทคโนโลยีไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรุงเทพ ที่นี่จังหวัดชลบุรี ที่พญาไทศรีราชา เราสามารถทำมาตรฐานให้เกิดขึ้นได้
นอกจากระบบกรองอากาศแบบ Ulpa filter แล้ว ยังมีระบบการกรองสารเคมีขนิดระเหยได้ เรียกว่า Volatile organic compound ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการทำลายตัวอ่อนสูงมาก ตัวอย่างสารเคมีเหล่านี้เช่นทินเนอร์ น้ำมันสน สีน้ำมัน สีทาผนัง น้ำหอมเป็นต้น ซึ่งสามารถลอดผ่านระบบ Hepa และ Ulpa filter ได้ ดังน้ันห้องแลบใหม่นี้จึงมีระบบการกรองชั้นที่สอง ซึ่งเป็นการกรองสารเคมีที่ระเหยได้ โดยใช้ผงถ่านคาร์บอนและโปรแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ดังน้ันผลการกรองทั้งสองระบบทำให้อากาศในห้องเลี้ยงตัวอ่อนน้ันมีความบริสุทธิ์อย่างมาก เราสามารถทำการทดสอบได้โดยการใช้เครื่องมือวัดความหนาแน่นของฝุ่นและวัดปริมาณของสารเคมีระเหย โดยทางห้องแลบที่พญ สุชาดาดูแลและออกแบบมานั้น ได้รับการตรวจสอบระบบทุกวันก่อนเริ่มงาน
เริ่มตั้งแต่ทางเข้าห้องแลป จะมีการดักจับฝุ่นตั้งแต่ทางเข้า และเปลี่ยนเสื้อผ้า โดยใช้ผ้าที่ทำจากใยสังเคราะห์สำหรับห้อง clean room โดยเฉพาะ โดยผ้าน้ันจะไม่ก่อให้เกิดฝุ่นในห้องแลป หลังจากน้ันเปลี่ยนรองเท้าเป็นรองเท้าสะอาด และเดินเข้าผ่านทางเข้าไปภายในเพื่อไปดักเอาฝุ่นออกจากตัวด้วยเครื่องดักฝุ่น
|
ทางเข้า |
|
ทางเดินเพื่อไปสู่ห้องแลบต่างๆ |
|
ห้องเป่าฝุ่นออกจากตัวเพื่อให้สะอาดมากที่สุดก่อนเข้าเขตปลอดเชื้อ |
เมื่อผ่านเข้าห้องภายในแล้ว จะมีที่นั่งพักก่อนเข้าห้องผ่าตัดเพื่อทำการเก็บไข่หรือย้ายตัวอ่อน หรือเป็นบริเวณที่ใช้อธิบายผลของการผสมตัวอ่อนเพื่อวางแผนการคัดเลือกตัวอ่อนกลับเข้ามดลูก
|
ที่นั่งพักก่อนเก็บไข่หรือย้ายตัวอ่อน |
สำหรับห้องผ่าตัดเพื่อการเก็บไข่หรือย้ายตัวอ่อนนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อการผ่าตัดใหญ่ได้ โดยมีระบบการให้ยาระงับความรู้สึกทุกรูปแบบ ระบบการช่วยชีวิตในกรณีฉุกเฉิน ระบบการติดตามสัญญาณชีพขณะหลับ ตั้งแต่การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ การหายใจ การไหลเวียนของเลือดในร่างกาย โดยวิสัญญีแพทย์เป็นผู้ดูแลทุกขั้นตอนจนกระทั่งตื่น จึงให้ความมั่นใจได้ว่าขั้นตอนการรักษานั้นมีความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งสถานที่บางแห่ง อาจจะมีเพียงวิสัญญีพยาบาลเป็นผู้ให้ยาระงับความรู้สึก จึงมีความปลอดภัยไม่เท่าที่นี่
|
ห้องเก็บไข่ ย้ายตัวอ่อนห้องที่ 1 |
|
ห้องเก็บไข่ ย้ายตัวอ่อนห้องที่ 2 |
|
วิสัญญีแพทย์(นพ สุเมธ วงศ์พิมพ์)ขณะปฏิบัติงาน |
ไข่ที่เก็บออกมาโดยใช้อัลตราซาวด์เป็นตัวช่วยนำเข็ม จะถูกส่งผ่านเข้าห้องเลี้ยงตัวอ่อนเพื่อทำการค้นหาไข่และนำออกมาเลี้ยงในตู้เพื่อรอการผสมต่อไป
|
ภายในห้องเลี้ยงตัวอ่อน ที่ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความหนาแน่นของฝุ่นและสารเคมี
|
|
อีกมุมหนึ่งซึ่งแสดงถึงอุปกรณ์ภายในห้อง |
|
ตู้เลี้ยงตัวอ่อนและผสมตัวอ่อนในเวลาเดียวกัน ทำให้ตัวอ่อนไม่ได้รับผลกระทบจากอุณภูมิที่เปลี่ยนแปลง
|
|
ตู้ Vitro safe เป็นตู้เลี้ยวตัวอ่อนขนาดใหญ่ที่สามารถใส่กล้องอิกซี่เพื่อการผสมภายในตู้ได้
|
|
กล้องอิกซี่อีกตัว |
|
กล้องอิมซี่ไว้คัดเลือกตัวอสุจิที่สมบูรณ์ที่สุด |
|
กล้องอิกซี่และสามารถทำอิมซี่ได้ในเวลาเดียวกันอีกตัวในตู้ Vitrosafe |
|
ตู้ค้นหาไข่ |
|
ตู้ควบคุมอุณหภูมิเพื่อไว้ค้นหาไข่ และย้ายตัวอ่อน |
|
นักวิทยาศาสตร์ขณะปฏิบัติงาน |
|
ระบบไฟที่ไม่รบกวนพัฒนาการของตัวอ่อน |
|
ห้องตรวจวิเคราะห์คุณภาพของน้ำอสุจิ รวมทั้งการเตรียมอสุจิสำหรับการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกและการผสมทำเด็กหลอดแก้ว |
|
ส่วนของห้องปฏิบัติการที่ให้บริการแช่แข็งอสุจิ และการเก็บรักษาอสุจิภายใต้ไนโตรเจนเหลว |
|
กล้องฟลูโอเลสเซนต์เพื่อการตรวจนับจำนวนโครโมโซมตัวอ่อนในขั้นตอนการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซม |
|
ส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ทำน้ำบริสุทธิ์และเครื่องปั่นคัดแยกอสุจิ |
|
เครื่องปั่นคัดแยกอสุจิ |
|
ระบบการแช่แข็งตัวอ่อนแบบปิด ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อจากตัวอ่อนหนึ่งไปสู่ตัวอ่อนอื่น ดังนั้นการตรวจเลือดเพื่อหาโรคติดต่อ
ทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นจำเป็นก่อนเร่ิมการรักษา เพื่อวางแผนเรื่องของการแช่แข็งตัวอ่อนให้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีบริการการ
แช่แข็งแยกถังเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สมบูรณ์แบบที่สุด |
|
หลอดใช้เก็บตัวอ่อนและอสุจิภายในและปิดหัวท้ายเพื่อให้เป็นระบบปิดอย่างแท้จริง ส่วนของพลาสติกทำจากสารเรซินที่ทนต่อสารเคมี
และความเย็นจัดของไนโตรเจนเหลว จึงไม่มีรูรั่วซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เชื้อโรคเล็ดลอดจากคนหนึ่งไปสู่คนอื่นได้
|
|
Cassette ที่ใช้ในการจัดเก็บตัวอ่อนแต่ละรายแยกจากกันโดยสิ้นเชิง ทำให้ปลอดภัยต่อการจัดเก็บ รักษาและค้นหา |