การตั้งครรภ์แทนหรือการอุ้มบุญ(surrogacy)
การตั้งครรภ์แทนหรือการอุ้มบุญหมายถึงการที่หญิงยอมรับการตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์ซึ่งเป็นของคู่สามีภรรยาอื่นที่ภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้
การอุ้มบุญแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- การอุ้มบุญที่ทารกในครรภ์เกิดจากการปฎิสนธิของอสุจิและไข่ของคู่สามีภรรยาที่ต้องการบุตร แต่ภรรยาไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ การอุ้มบุญแบบนี้สตรีผู้รับอุ้มบุญจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับทารกในครรภ์ โดยขบวนการการรักษาน้ันเกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์และย้ายตัวอ่อนเข้ามดลูกของผู้ตั้งครรภ์แทน
- การอุ้มบุญที่ทารกในครรภ์เกิดจากการปฎิสนธิของอสุจิของสามีกับไข่ของคนอุ้มบุญเอง ซึ่งมักจะเป็นกรณีที่ไข่ของผู้ที่เป็นภรรยาเสื่อมแล้ว หรือไม่ประสงค์จะใช้ไข่ของตัวเอง ในกรณีนี้ผู้ที่อุ้มบุญมีส่วนเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมกับทารกในครรภ์เนื่องจากเป็นเจ้าของไข่เอง โดยวิธีการรักษาอาจจะใช้วิธีการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกหรือใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
ข้อบ่งชี้
- คู่สมรสที่ภรรยาไม่มีมดลูกแล้ว แต่ยังมีรังไข่ทำงานได้อย่างน้อยหนึ่งข้าง เช่นไม่มีมดลูกแต่กำเนิด หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกออกเนื่องจากเป็นโรคเช่นเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
- คู่สมรสที่ภรรยามีโรคประจำตัวหรือภาวะที่การต้ังครรภ์จะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
- คู่สมรสที่ภรรยามีภาวะแท้งซ้ำซาก และการตั้งครรภ์นั้นไม่เคยดำเนินจะสามารถคลอดบุตรที่มีชีวิตได้ เช่นมดลูกผิดรูปมาแต่กำเนิด
- สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เคยมีบุตรของตัวเองอย่างน้อยหนึ่งคน
- แต่งงานแล้ว มีสถานะภาพสมรสที่มั่นคง โดยสามีต้องยอมรับและเข้าใจในขบวนการการรักษา
- ไม่เป็นพาหะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่นไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิศ เอดส์
- หยุดคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนอย่างน้อยหนึ่งเดือน และคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย
ผลกระทบที่ควรคำนึงถึงสำหรับการอุ้มบุญ
- ความผูกพันที่เกิดขึ้นของผู้รับอุ้มบุญกับทารกในครรภ์ ทำให้เกิดกรณีการไม่คืนลูกกับคู่สมรสที่เป็นเจ้าของไข่และอสุจิ
- ในกรณีที่เด็กในครรภ์พิการซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติน้ัน ควรเป็นเรื่องที่ทางคู่สมรสร่วมรับผิดชอบเนื่องจากเป็นเจ้าของพันธุกรรมโดยตรง
- ปัญหาการแยกทางของคู่สมรสหรือเสียชีวิตก่อนที่ทารกจะเกิดมา
- การรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งเป็นเรื่องเชิงพาณิชย์
- ปัญหาเรื่องของกฎหมาย ในปัจจุบันร่างกฎหมายอุ้มบุญยังอยู่ในขบวนการพิจารณา ซึ่งปัจจุบันผู้ที่คลอดบุตรนั้นเป็นแม่ตามกฏหมาย ทางออกของปัญหานี้ของคู่สมรสคือการรับเด็กที่เกิดมาเป็นบุตรบุญธรรม
No comments:
Post a Comment