Tuesday, October 11, 2011

ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง


ภาพอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดแสดงลักษณะรังไข่ที่มีปัญหาไข่ไม่ตก
เรื้อรัง ภายในจะเป็นช่องว่างสีดำซึ่งเป็นที่อยู่ของไข่อ่อนจำนวนมาก

ภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังเป็นความผิดปกติของการทำงานของรังไข่ ที่ทำให้ขบวนการการโตของไข่น้ันหยุดชะงัก โดยร่างกายน้ันสูญเสียกลไกการควบคุมการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้เกิดปัญหาประจำเดือนมาไม่ตามกำหนด ขาดประจำเดือน สิวขึ้น ผิวมัน มีบุตรยาก นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะยาว และเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานเมื่ออายุมากขึ้น

อุบัติการพบว่าประมาณร้อยละ 10 ของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ จะมีปัญหาเรื่องของภาวะไข่ไม่ตกเรื่อรังซ่อนอยู่ อาการแต่ละคนที่เป็นนั้นแตกต่างกันได้หลายรูปแบบ บางคนมีประจำเดือนมาสม่ำเสมอดี หรือไม่สม่ำเสมอ หรือขาดประจำเดือนอยู่บ่อยๆ ก็เป็นภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้

อาการอื่นๆที่พบได้เช่น สิวขึ้นไม่หาย ผิวมัน บางรายอ้วนมาก และบางรายมีขนดกกว่าปกติ หรือผมที่ศีรษะร่วงแบบผู้ชาย บางรายไม่มีอาการอะไรผิดปกติเลย ยกเว้นเพียงแค่ไม่มีบุตร และมาตรวจพบขณะตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก

การตรวจร่างกาย อาจจะไม่พบความผิดปกติอะไรเลย หรือพบว่ามีสิวมากกว่าปกติ ผิวมัน บางรายอ้วน รูปร่างผอมบางก็พบได้บ่อย ส่วนการตรวจฮอร์โมนที่ควบคุมการทำงานของรังไข่จะพบภาวะความไม่สมดุลย์ของฮอร์โมน การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด จะพบลักษณะของรังไข่ที่เฉพาะตัว คือจะเห็นไข่อ่อนอยู่ภายในรังไข่เป็นจำนวนมาก และจัดเรียงตัวอยู่ที่ผิวรังไข่คล้ายสร้อยไข่มุก ซึ่งเป็นลักษณะของอัลตราซาวด์ที่ให้การวินิจฉัยว่าเป็นภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้ถูกต้องที่สุด

ส่ิงที่สำคัญของภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังน้ันคือในกรณีที่ไม่ต้องการบุตร ควรป้องกันโรคบางอย่างที่จะพบร่วมกันได้ในอนาคตเช่น เบาหวาน ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูกจะสูงขึ้นมากกว่าคนปกติ ส่วนในกรณีที่ต้องการบุตร ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ขณะรักษาภาวะมีบุตรยากคือภาวะการตั้งครรภ์แฝดที่มากกว่าสอง และภาวะบวมน้ำจากการกระตุ้นไข่ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อชีวิตได้ ถ้าไม่สามารถควบคุมการกระตุ้นไข่ได้อย่างเหมาะสม

แนวทางการรักษาสำหรับผู้ที่มีปัญหาไข่ไม่ตกเรื้อรังน้ัน จะมีความแตกต่างจากภาวะไข่ไม่ตกธรรมดา หลักการของการรักษาคือการกระตุ้นให้มีการโตของไข่ ร่วมกับป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะรักษา โดยธรรมชาติของผู้หญิงที่มีปัญหาไข่ไม่ตกเรื้อรัง จะพบว่ารังไข่น้ันดื้อต่อการใช้ยากระตุ้นไข่ชนิดกิน แต่จะตอบสนองต่อการกระตุ้นไข่ด้วยยาฉีดที่มากกว่าคนทั่วไป ดังน้ันการกระตุ้นไข่เพื่อให้ได้ไข่ตกเพียงแค่ 1หรือ 2 ใบและใช้วิธีธรรมชาติน้ันอาจจะประสบความสำเร็จได้ยาก ในขณะเดียวกันการกระตุ้นไข่ด้วยยาฉีดก็อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนคือการได้ไข่มากเกินความต้องการ ทำให้ไม่สามารถใช้วิธีธรรมชาติได้ หรือถ้าใช้วิธีธรรมชาติอาจจะตั้งครรภ์แฝดที่มากเกินกว่าสองคน นอกจากนี้ยังเกิดภาวะบวมน้ำ คลื่นไส้อาเจียนอย่างมากในช่วงกระตุ้นไข่และช่วงตั้งครรภ์

แนวทางการรักษาภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังสามารถทำได้ดังนี้

  1. การใช้ยากระตุ้นไข่ตกชนิดกิน อาจจะร่วมกับการใช้ยาบางตัวในการช่วยให้รังไข่ตอบสนองยากระตุ้นได้ดีขึ้นเช่นการใช้ยารักษาเบาหวาน meformin ในกรณีที่ไม่ได้ผลสามารถรักษาขั้นต่อไป
  2. การใช้ยากระตุ้นไข่ชนิดฉีดขนาดต่ำที่สุด เพื่อกระตุ้นให้มีไข่จำนวนน้อยกว่า 3 ใบ ในกรณีกระตุ้นสำเร็จ อาจใช้การมีเพศสัมพันธ์ธรรมชาติ ถ้าน้ำเชื้อปกติ หรือฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูกในกรณีที่น้ำเชื้ออ่อนไม่มาก ถ้าไม่สำเร็จใช้วิธีการรักษาขั้นต่อไป
  3. การใช้ยากระตุ้นไข่ชนิดฉีดขนาดต่ำเพื่อให้มีการโตของไข่หลายใบ เพื่อการผสมภายนอก ร่วมกับการแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อรอการย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกหลังจากร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติในรอบประจำเดือนธรรมชาติ เป็นวิธีการทำเด็กหลอดแก้วที่ควบคุมสภาวะฮอร์โมนในร่างกายไปด้วย เพื่อให้จำนวนไข่และระดับฮอร์โมนในร่างกายน้ันไม่สูงจนอยู่ในระดับที่อันตราย และการย้ายตัวอ่อนแช่แข็งนอกจากการฝังตัวจะสูงกว่ารอบกระตุ้นไข่แล้ว ยังลดภาวะแทรกซ้อนจากระดับฮอร์โมนที่สูงเกินไป ทำให้การควบคุมร่างกายช่วงกระตุ้นไข่และหลังเก็บไข่ทำได้ง่ายขึ้น เป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนได้อีกทางหนึ่ง 
  4. การเก็บไข่อ่อนที่ไม่ได้ผ่านการกระตุ้นไข่ออกมาทางช่องคลอด และมาเลี้ยงให้โตในสภาวะที่เหมาะสม หลังจากน้ันนำมาผสมกับอสุจิด้วยวิธีอิกซี่เพื่อเป็นตัวอ่อน และย้ายกลับเข้ามดลูกแบบเดียวกับการย้ายตัวอ่อนหลังการทำเด็กหลอดแก้ว วิธีนี้ช่วยหลีกเลี่ยงการกระตุ้นไข่ ทำให้ไม่เกิดภาวะบวมน้ำแต่อัตราการตั้งครรภ์ยังไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับการทำเด็กหลอดแก้วตามปกติ
ทั้งสามวิธีการรักษานี้ ถ้าให้การรักษาที่ควบคุมอย่างถูกต้องแล้ว จะทำให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูง ภาวะแทรกซ้อนต่ำและควบคุมได้ สำหรับวิธีที่สามคือการทำเด็กหลอดแก้วให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด คือโอกาสในการตั้งครรภ์สูงที่สุดในขณะเดียวกันสามารถควบคุมภาวะแทรกซ้อนได้ จากการย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง ทำให้ตั้งครรภ์แฝดได้เกินสอง และเกิดภาวะบวมน้ำจากการกระตุ้นไข่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้และหายได้เองโดยไม่ต้องรักษาหลังเก็บไข่ประมาณ 7 วัน

การจะเลือกวิธีการรักษาใดๆนั้นควรจะคำนึงถึงโอกาสในการตั้งครรภ์ร่วมกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการรักษา 





1 comment:

  1. Blackjack and roulette - DrMCD
    The Best Blackjack 안성 출장안마 and Roulette Games of 2021 - We rank the best blackjack 창원 출장마사지 and roulette game titles and see 광주 출장마사지 how it compares 안성 출장마사지 to other casino 영주 출장샵 sites.

    ReplyDelete