การพัฒนาการของตัวอ่อนมนุษย์ เริ่มจากเซลล์หนึ่งเซลล์ เป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปด เป็นสิบหก และเจริญอย่างรวดเร็วเป็นบลาสโตซีสต์ดังรูปต่อไปนี้
|
ตัวอ่อนระยะหนึ่งเซลล์ |
|
ตัวอ่อนระยะสองเซลล์ |
|
ตัวอ่อนระยะสี่เซลล์ |
|
ตัวอ่อนระยะแปดเซลล์ |
|
ตัวอ่อนระยะสิบหกเซลล์ |
|
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ |
|
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ที่ฟักออกจากเปลือกตัวอ่อน |
การย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์เป็นการย้ายตัวอ่อนในระยะพัฒนาการ 5 วัน ซึ่งเป็นตัวอ่อนที่พร้อมจะฝังตัว หลังย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ ตัวอ่อนจะออกจากเปลือกตัวอ่อนและฝังในเยื่อบุโพรงมดลูก หลังตัวอ่อนฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูก ตัวอ่อนจะสร้างฮอร์โมน hCG เข้าไปในกระแสเลือดแม่ ทำให้สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้
ขบวนการการทำเด็กหลอดแก้วปกติน้ัน โดยทั่วไปไข่ที่ถูกกระตุ้นด้วยยาฉีดน้ัน จะถูกเก็บออกมาและทำการแยกว่าไข่ใบไหนเป็นไข่ที่โตเต็มที่ซึ่งสามารถนำมาผสมกับอสุจิได้ ส่วนไข่อ่อนน้ันไม่สามารถนำมาผสมได้ ประมาณร้อยละ 70 ของไข่ที่โตเต็มที่จะผสมกับอสุจิได้เป็นตัวอ่อน และตัวอ่อนที่ได้จะเจริญพัฒนาต่อไปจนถึงระยะ 8 เซลล์ หลังจากน้ันตัวอ่อนบางตัวอาจจะชะงักการเจริญเติบโตได้เนื่องจากธรรมชาติของตัวอ่อนมนุษย์ที่ผิดปกติมักจะหยุดชะงักการเจริญเติบโตที่ระยะประมาณ 4-8 เซลล์และตายในที่สุด ดังนั้นการเลี้ยงตัวอ่อนให้นานขึ้นเพื่อให้พ้นระยะ 8 เซลล์เป็นการใช้การคัดเลือกตามธรรมชาติมาเลือกตัวอ่อนที่มีแนวโน้มที่จะฝังตัวได้ โดยจะคัดเลือกเฉพาะตัวอ่อนที่สามารถเจริญพัฒนาเป็นบลาสโตซีสต์มาย้าย ทำให้สามารถลดจำนวนตัวอ่อนที่ย้ายกลับโดยที่โอกาสในการตั้งครรภ์น้ันยังคงดีอยู่และโอกาสในการเกิดครรภ์แฝดที่มากกว่าสองจะลดลงไปมาก เนื่องจากในอดีตการย้ายตัวอ่อนมักจะทำในระยะ 4-8 เซลล์ หรืออายุประมาณ 3 วันของตัวอ่อน ซึ่งการย้ายตัวอ่อนมักจะย้ายประมาณ 2-3 ตัวอ่อนเพื่อเพ่ิมโอกาสในการตั้งครรภ์ในการย้ายตัวอ่อนแต่ละรอบ ซึ่งความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แฝดสามจะเพ่ิมสูงขึ้นได้ โดยเฉพาะถ้ามีการย้ายมากกว่าสามตัวอ่อน
จากแผนผังเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า
การทำเด็กหลอดแก้วน้ัน จำนวนของไข่มีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยไข่ตั้งต้นควรมีจำนวนพอสมควร เนื่องจากโดยขบวนการการรักษาน้ันทำให้เหลือตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีพอจะตั้งครรภ์ได้ไม่มาก ซึ่งอาจจะเหลือเพียงน้อยกว่า 30% ของไข่ที่กระตุ้นได้
ข้อดีและข้อเสียและข้อเท็จจริงบางประการของการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์
- ข้อดีคือการใช้ขบวนการการคัดเลือกตามธรรมชาติมาคัดเลือกตัวอ่อน โดยเลือกตัวอ่อนที่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ได้มาย้ายกลับ ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการฝังตัวในแต่ละรอบที่ย้าย และลดจำนวนการย้ายตัวอ่อนได้ทำให้ลดอัตราการเกิดครรภ์แฝดที่มากกว่าสามลงไปได้มาก และเหมาะสมมากสำหรับรายที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์แฝด จึงสามารถย้ายตัวอ่อนบลาสโตซีสต์เพียงแค่ตัวเดียวได้โดยอัตราการตั้งครรภ์ไม่ได้ลดลงเมื่อเทียบกับการย้ายตัวอ่อนบลาสโตซีสต์สองตัว
- ข้อเสียของการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์คือ ไม่สามารถนำมาใช้กับการย้ายตัวอ่อนทุกคนได้ เนื่องจากบางรายอาจมีจำนวนตัวอ่อนน้อยเกินกว่าจะเลี้ยงให้เป็นระยะบลาสโตซีสต์ได้ นอกจากนี้การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ต้องมีระบบการเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้มาตรฐานและมีระบบการเลี้ยงตัวอ่อนเฉพาะ จึงจะทำให้การเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์น้ันประสบความสำเร็จได้ดีกว่าการย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์ เนื่องจากโอกาสประสบความสำเร็จในการย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์น้ันอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควรอยู่แล้ว ดังน้ันการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์น้ันเหมาะมากสำหรับผู้หญิงอายุน้อย ซึ่งตัวอ่อนแต่ละตัวมีโอกาสฝังตัวมากกว่าคนที่อายุมาก และจำนวนตัวอ่อนที่มีมากกว่า 6 ตัวอ่อนโดยไม่จำกัดอายุฝ่ายหญิง
- การย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์น้ัน อาจจะไม่ใช่เป็นวิธีการย้ายตัวอ่อนที่เหมาะสมสำหรับทุกคน เนื่องจากยังมีความเสี่ยงเรื่องของตัวอ่อนที่ต้องเสี่ยงไปเจริญเติบโตอยู่ในสภาวะที่ไม่เหมือนธรรมชาติทำให้ไม่สามารถเจริญเป็นบลาสโตซีสต์ได้ ดังน้ันเมื่อถึงวันที่ย้ายตัวอ่อน อาจจะไม่มีตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ให้ย้ายเลยก็ได้
- อัตราการเจริญเป็นบลาสโตซีสต์ขึ้นอยู่กับอายุของฝ่ายหญิง อายุน้อยอัตราการเจริญเป็นบลาสโตซีสต์มีมากกว่าอายุมาก เราคาดว่าคนอายุน้อยกว่า 35 ปีมีโอกาสเจริญเป็นบลาสโตซีสต์ที่มากกว่าร้อยละ 50 ของตัวอ่อนที่ผสมได้ทั้งหมด และสัดส่วนจะลดหลั่นลงไปเมื่ออายุมากกว่า 35 ปี
ข้อดีและข้อเสียของการย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์
- ข้อดีคือตัวอ่อนไม่ต้องเสี่ยงอยู่ในตู้เลี้ยงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะระบบการเลี้ยงตัวอ่อนที่ไม่ได้มาตรฐาน ตัวอ่อนจะไม่สามารถเจริญพัฒนาเป็นบลาสโตซีสต์ได้ ทำให้แปลผลว่าตัวอ่อนไม่ดีพอ ซึ่งในความเป็นจริงระบบการเลี้ยงไม่ดีพอ คนที่มีตัวอ่อนจำนวนไม่มาก สามารถย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์ได้โดยโอกาสตั้งครรภ์ยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจได้ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่และอสุจิ
- ข้อเสียคือต้องย้ายตัวอ่อนจำนวนมากขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อครรภ์แฝดสูงกว่าการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ โดยเฉพาะแฝดที่มากกว่าสาม การลดจำนวนการย้ายลง อาจมีผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ ซึ่งต่างกับการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ที่สามารถย้ายตัวอ่อนจำนวนน้อยลงไม่เกินสองตัวอ่อนได้ จึงทำให้ตั้งครรภ์แฝดเพียงแค่สอง ยกเว้นว่ามีแฝดแท้เกิดขึ้นมาในภายหลัง ในปัจจุบันพบว่าการรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากด้วยขบวนการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทำให้แฝดแท้มีโอกาสเกิดสูงกว่าการเกิดในธรรมชาติ สาเหตุเกิดจากขบวนการการรักษาน้ันไปกระตุ้นให้ตัวอ่อนมีการแบ่งแยกตัวออกมาเอง
กล่าวโดยสรุป การย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์และการย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์สามารถทำได้โดยได้ผลการรักษาที่ดีทั้งสองวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของตัวอ่อนตั้งต้นซึ่งต้องมาจากไข่และอสุจิที่ดี การเลือกย้ายตัวอ่อนระยะใดน้ันควรพิจารณาจากจำนวนตัวอ่อนที่ผสมได้ อายุของฝ่ายหญิง คุณภาพของห้องปฏิบัติการและระบบการเลี้ยงตัวอ่อนที่ได้มาตรฐานสำหรับตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์ ในกรณีที่จำนวนตัวอ่อนมีน้อย การย้ายตัวอ่อนระยะ 8 เซลล์ให้ผลการรักษาที่ดี แม้ว่าจะเสี่ยงแฝดมากถ้าย้ายตัวอ่อนมากเกินไป ในขณะเดียวกันกรณีที่มีจำนวนตัวอ่อนมาก การย้ายตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต์จะช่วยให้เราสามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีให้เหลือน้อยลงในการย้ายกลับ เป็นการลดโอกาสในการตั้งครรภ์แฝดที่มากกว่าสองลงไปได้มากในขณะที่โอกาสในการตั้งครรภ์กลับสูงขึ้น
No comments:
Post a Comment