ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ในขั้นตอนการรักษาทำเด็กหลอดแก้ว
ภาพรังไข่ที่มีไข่ที่ถูกกระตุ้นอยู่ภายในเป็นจำนวนมาก |
- ภาวะแทรกซ้อนอันดับแรกคือความเสี่ยงที่จะไม่ตั้งครรภ์จากการรักษา โดยทั่วไปเร่ิมต้นความเสี่ยงตั้งแต่ขั้นตอนการกระตุ้นไข่ อาจกระตุ้นไข่ไม่ได้ อาจเก็บไข่ไม่ได้ อาจจะผสมแล้วไม่ได้ตัวอ่อน อาจไม่ได้ย้ายตัวอ่อนเนื่องจากคุณภาพตัวอ่อนไม่ดีพอ หรือตัวอ่อนผิดปกติ ซึ่งความเสี่ยงเหล่านี้พบน้อยและมักจะพบในรายที่อายุมาก นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงเกี่ยวกับการตกเลือดในช่องท้องจากขั้นตอนการเก็บไข่ ซึ่งโอกาสในการเกิดน้ันเพียงแค่น้อยกว่า 0.5%
- ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากยากระตุ้นไข่ ทำให้ร่างกายผลิตไข่ได้มากกว่าปกติ และเกิดภาวะบวมน้ำทั่วร่างกาย (ovarian hyperstimulation syndrom, OHSS) เสี่ยงต่อรังไข่แตกได้ถ้าได้รับการกระแทกแรงๆ เนื่องจากรังไข่น้ันจะขยายตัวมากกว่าปกติ โอกาสในการเกิดภาวะบวมน้ำจากระดับฮอร์โมนที่สูงมากจนอยู่ในระดับอันตรายน้ันมีโอกาสต่ำกว่า 1% โดยเฉพาะในกรณีที่การกระตุ้นไข่น้ันได้รับการควบคุมอย่างเหมาะสม ส่วนรายที่บวมน้ำ คลื่นไส้อาเจียนในระดับที่ไม่รุนแรง พบได้ประมาณ ร้อยละ 10-15 สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องรักษาเพียงแค่ประคับประคองเรื่องอาการคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้การใช้ยาฉีดกระตุ้นไข่ อาจทำให้เกิดรอยแดงคันบริเวณที่ฉีดยา เลือดออกใต้ผิวหนัง เขียวช้ำได้ ช่วงฉีดยาบางรายมีคลื่นไส้อาเจียน หงุดหงิด ท้องบวม ท้องอืด ปวดหน่วงท้องน้อย มูกใสออกทางช่องคลอด
- การตั้งครรภ์แฝดจัดว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการรักษา โดยเฉพาะการตั้งครรภ์แฝดที่มากกว่าสองคน โอกาสในการคลอดก่อนกำหนดมีสูง
No comments:
Post a Comment